“ราช กรุ๊ป” กางแผนลงทุน 5 ปี(2566-2570) ดัน EBITDA แตะ 1.5 หมื่นลบ.ในปี 2570

ผู้ชมทั้งหมด 716 

“ราช กรุ๊ป” ตั้งงบลงทุนปี 2566 ระดับ 35,000 ล้านบาท ขยายการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าและธุรกิจ Non-power ลุยเพิ่มกำลังการผลิตใหม่เข้าพอร์ตสิ้นปีนี้อีกไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ทั้งการลงทุนผ่านเน็กส์ซิฟฯ จ่อปิดดีลM&A โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ พร้อมลุ้นคว้าสิทธิ์เสนอขายไฟฟ้าหมุนเวียนในประเทศ ขณะที่ปีนี้ เตรียมรับรู้รายได้ โรงไฟฟ้าทยอย COD อีก 1,207.13 เมกะวัตต์  ดัน EBITDA ปีนี้ทะลุ 1.2 หมื่นล้านบาท และเป็น 1.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2570 เล็งผนึกพันธมิตรเวียดนาม ยื่นประมูลโครงการ Gas to Power ปริมาณ 1,500 เมกะวัตต์

นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชนRATCH เปิดเผยว่า  บริษัทฯ ได้วางแผนกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจช่วง 5 ปี (ปี 2566-2570) ภายใต้งบประมาณราว 70,000-100,000 ล้ทนบาท ซึ่งมุ่งเน้นเป้าหมาย 4 ด้านได้แก่ (1) การเติบโตของผลตอบแทน โดยตั้งเป้าหมาย EBITDA เติบโตจาก 12,000 ล้านบาทในปีนี้ เป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2570 

(2) การขยายธุรกิจ Non-Power กำหนดเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 5% ในปีนี้ และปี 2570 ธุรกิจนี้จะสร้างรายได้เข้ามาเสริมให้บริษัทฯ  5% 

(3) เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน ให้ได้ 20% ของกำลังการผลิตรวม และเพิ่มขึ้นมาเป็น 25% ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป 

(4) พัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล และเตรียมความพร้อมสำหรับการประกาศความมุ่งมั่นความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2570     

โดยแผนระยะสั้น ปี 2566 บริษัทฯได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการลงทุนจำนวน 35,000 ล้านบาท โดยจะใช้ขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจำนวน 29,000 ล้านบาท และธุรกิจนอกภาคไฟฟ้า (Non-Power Business) อีก 6,000 ล้านบาทบริษัทฯ คาดว่า ผลการดำเนินงานในปี 2566 จะเติบโตดีขึ้น โดยบริษัทฯ มีเป้าหมาย EBITDA ไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2566 นี้จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 500 เมกะวัตต์ เข้ามาจากพอร์ตของ บริษัทร่วมทุน เน็กส์ซิฟราช เอ็นเนอร์จี อินเวสเมนท์ (NREI) ที่เป็นกลไกในการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วในประเทศออสเตรเลียเวียดนาม และฟิลิปปินส์ จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิตรวมประมาณ 843 เมกะวัตต์ ให้สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ให้ได้ตามเป้าหมาย ตามแผนกำลังการผลิตของบริษัทฯ จะมีกำลังผลิตเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นในปี 2567 รวม 518.66 เมกะวัตต์ปี 2568  เพิ่มขึ้นอีก 918.20 เมกะวัตต์ ปี 2570 และ ปี 2573 เพิ่มขึ้นอีก 252.77 เมกะวัตต์ และ 213 เมกะวัตต์ ตามลำดับ 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมองหาโอกาสขยายการลงทุนในเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการพลังงานทดแทน และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งในส่วนนี้จะมีทั้งโครงการการที่เข้าซื้อกิจการหรือควบรวม(M&A)ในเวียนดนามและฟิลิปปินส์ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยในเวียดนาม มีดีลเจรจาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาด 300-500 เมกะวัตต์ เป็นโครงการที่ COD แล้ว คาดว่าจะปิดดีลได้ภายในปีนี้ 

รวมถึง บริษัทฯ ยังสนใจเข้าร่วมประมูลแข่งขันโครงการ GAS to Power ในเวียดนาม ขนาดกำลังการผลิต 1,500 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นในเวียดนาม เบื้องต้นบริษัทฯจะดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และให้พันธมิตรเป็นผู้จัดหาและนำเข้า LNG แต่ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ยังต้องรอความชัดเจน การประกาศแผน PDP 8 ของเวียดนาม

ขณะที่ฟิลิปปินส์ ก็มีหลายโครงการที่น่าสนใจและปัจจุบันการเมืองในฟิลิปปินส์มีความเสถียรมากขึ้น เอื้อต่อการเข้าไปลงทุนรวมถึงออสเตรเลียก็มีความสนใจเรื่องการลงทุนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในออสเตรเลีย ที่ปัจจุบันมีการศึกษาไปถึงขั้นดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้  

อีกทั้ง บริษัทฯ ยังรอลุ้นผลการยื่นเสนอโครงการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของคณะกรรมการกกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว 420 เมกะวัตต์ จำนวน 8 โครงการ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติให้สิทธิ์เข้าลงทุน 

ส่วนกลุ่มธุรกิจ Non-power จะมุ่งเน้นที่ธุรกิจบริการสุขภาพโดยยังคงจับมือกับกลุ่ม PRINC ด้านนวัตกรรมยังดำเนินการผ่านบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด อีกทั้งยังมีการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนากรีนไฮโดรเจน โดยมีแผนจะดำเนินการนำร่องในออสเตรเลียเป็นแห่งแรก

นางสาวชูศรี กล่าวอีกว่า ในปีนี้ บริษัทฯ จะรับรู้รายได้จากโครงการที่จะทยอย COD เข้ามาประมาณ 1,207.13 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าราช เอ็นเนอร์จี ระยอง จำนวน 49.98 เมกะวัตต์​,โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติสแน็ปเปอร์ พ้อยท์ จำนวน154 เมกะวัตต์,โรงไฟฟ้าพลังงานลม ลินคอล์น แก็ป 1&2 ในออสเตรเลีย  จำนวน 212 เมกะวัตต์ ,โรงไฟฟ้าพลังน้ำค๊อดซานจำนวน 17.37 เมกะวัตต์ ,ซองเกียง 2 จำนวน 17.10 เมกะวัตต์  และโรงไฟฟ้าพลังงานลมอีโค่วิน ในเวียดนาม จำนวน 15 เมกกะวัตต์ สำหรับการเข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนไพตัน ในอินโดนีเซีย บริษัทฯ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ จำนวน 741.52 เมกะวัตต์