ไขข้อสงสัย? รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา กับสถานะปัจจุบัน การดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนใด

ผู้ชมทั้งหมด 620 

สำหรับสถานะของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา และดำเนินการใน 5 ประเด็น ได้แก่

1. การเวนคืน ที่ส่งผลกระทบกับสัญญา 11 สัญญา ล่าสุดราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง มีผลบังคับ ตั้งแต่ วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

2. การขอพื้นที่จากส่วนราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับผลกระทบ 7 สัญญา

ขณะนี้อยู่ะหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. สถานีอยุธยา ที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้พิจารณาย้ายสถานี

 ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบต่อมรดกโลกทางวัฒนธรรม หรือ HIA แล้ว โดยเริ่มงานเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 มีระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน กำหนดแล้วเสร็จวันที่ 24 เมษายน 2566

4. โครงสร้างร่วมระหว่างโครงการฯ กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด ซึ่งคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จและเริ่มก่อสร้างได้ ภายในต้นปี 2566

5. สถานการณ์โควิดที่กระทบงานระบบ ทำให้งานออกแบบระบบทั้งหมด และขบวนรถไฟงานก่อสร้างและติดตั้ง รวมถึง งานฝึกอบรมบุคลากรและงานถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องหยุดชะงัก ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทยและคู่สัญญาอยู่ระหว่างตรวจสอบและแก้ไขรายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะเดินหน้างานระบบได้ภายในต้นปี 2566

นายนิรุฒ มณีพันธ์  ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ความมั่นใจว่า จะเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ภายในปี 2570