PTTEPยันโครงการในเมียนมายังผลิตก๊าซปกติ

ผู้ชมทั้งหมด 1,238 

PTTEP ยันโครงการผลิตก๊าซฯ ในเมียนมายังผลิตตามปกติ พร้อมมั่นใจแผนส่งเสริม EV จะไม่กระทบ คาดก๊าซฯขายได้เพิ่มขึ้น ส่วนโครงการแผนผลิตไฟฟ้า GAS TO POWER ตัดสินใจขั้นสุดท้ายในปี 2565

นายพงศธร ทวีสิน  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ปตท.สำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP (ปตท.สผ.) เปิดเผยในระหว่างการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 ว่า โครงการลงทุนผลิตปิโตรเลียมในเมียนมาปัจจุบันยังคงดำเนินการผลิตต่อเนื่องตามปกติ แม้จะเกิดการประท้วงอย่างรุ่นแรงก็ตาม เนื่องจากเป็นสัญญาที่ผูกพันระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่าย  โดย ปตท.สผ. ให้ความสำคัญพับความปลอดภัยของพนักงาน ความมั่นคง และยึดถือหลัก สิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติเป็นสำคัญ ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการผลิต ประกอบด้วย โครงการซอติก้า, โครงการยาดานา, โครงการเยตากุน

ทั้งนี้โครงการผลิตปิโตรเลียมในเมียนมานั้นทาง ปตท.สผ. มีการร่วมาดำเนินธุรกิจมาประมาณ 30 ปี ตามพันธกิจเดียวกับรัฐบาล คือ สร้างความมั่นคงพลังงาน ควบคู่สร้างคุณค่ายั่งยืนให้กับทุกฝ่าย มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านปิโตรเลียมให้กับชาวเมียนมา มีการจ้างงานต่อเนื่อง  และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวเมียนมา ส่วนโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ (Integrated Domestic Gas to Power) 

ขนาดกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างทำแผนงานโดยตามกำหนดการจะมีการตัดสินใจการลงทุนขั้นสุดท้ายในปี 2565 ส่วนเป้าหมายปริมาณการขายปิโตรเลียมในปี 2564 นั้นได้ปรับลดเป้าหมายลงเหลือ 350,000  บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากเดิมตั้งที่ประมาณ 390,000  บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เนืองจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบก็มีความผันผวน

พร้อมกันนี้จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 บริษัทได้ปรับแผนดำเนินการรับวิกฤติไม่ว่าจะเป็นการให้พนักงานทำงานที่บ้านลดการติดเชื้อ โครงการช่วยเหลือสังคม การดำเนินการทางการเงินให้มีสภาพคล่องที่ดี  พร้อมกันนี้บริษัทยังได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยได้เลือกลงทุนโครงการที่มีศักยภาพ  ซึ่งมีการร่วมทุนและค้นพบแหล่งใหม่ในประเทศมาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ยังได้รักษาระดับการผลิต ลดต้นทุนต่อหน่วย โดยปตท.สผ.จะรักษาระดับต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost) ให้อยู่ในระดับ 29-30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ และมีการบริหารความเสี่ยงผลกระทบจากราคาน้ำมันผันผวน รวมทั้งลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดEV) ได้ประกาศกำหนดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศนั้นตนเชื่อมั่นว่า ยานยนต์ EV จะไม่กระทบกับปตท.สผ. เนื่องจาก ผลผลิตหลักของ ปตท.สผ. จะเป็นก๊าซธรรมชาติ ไม่ใช่น้ำมัน ในขณะที่รถยนต์ EV คาดว่าจะมีการใช้มากขึ้นใน 10-15 ปีข้างหน้า โดยประเทศไทยวางเป้าหมายในปี 2568 จะต้องมีการจำหน่ายยานยนต์ EV รวม 1,051,000 คัน และก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงหลักในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ซึ่งนโยบานของ ปตท.สผ. คือ เน้นการผลิตก๊าซฯ เพิ่มมากขึ้น  และยังทำแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) เช่น การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS)